ที่มา: https://www.tmd.go.th/programs//uploads/announces/2020-08-02_17283.pdf
ที่มา: http://www.metalarm.tmd.go.th/monitor/typhoonSelect?fbclid=IwAR1licMB0COCtyXJ0qjIyNCyWGmh1xdBD81R1p9s9FLaIecVQxvLPGAnNNQ
ศูนย์วิจัยด้านการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมกับจังหวัดเชียงรายทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือ แผนที่ความเสี่ยงดินถล่มเชิงพลวัต (Dynamic Landslide Risk Map) ที่สามารถใช้คำนวนความเสี่ยงของการเกิดเหตุดินถล่มใน 3 พื้นที่ชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวนำร่อง คือ พื้นที่ ต.แม่สลองใน ต.แม่สลองนอก และ ต.ตับเต่า ซึ่งเป็นการสร้างแบบจำลองโดยใช้เทคนิคปัญญาประดิษฐ์โครงข่ายประสาทเทียม (ANN) โดยดึงค่าปริมาณน้ำฝนของสถานีตรวจวัดน้ำฝนในพื้นที่เป้าหมาย ที่สามารถปรับเปลี่ยนค่าในตรงกับสถานการณ์จริงในแต่ละช่วงเวลา แล้วนำมาคำนวนและแสดงผลเป็นเฉดสีตามระดับความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ในเวปไซต์ บนแผนที่ฐาน thunderforest map (https://landslide-chiangrai.net/) เพื่อง่ายต่อการใช้งาน และสามารถคาดการณ์สถานการณ์ดินถล่มได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ระหว่างช่วงวันที่ 1-4 สิงหาคม 2563 เกิดฝนตกชุก อันเนื่องมาจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน ซินลากู (SINLAKU) และได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 4-10 ลววันที่ 1-3 สิงหาคม 2563 ซึ่งแสดงแผนที่ความเสี่ยงดินถล่มเชิงพลวัต (Dynamic Landslide Risk Map) ที่ปรากฏตาม